พระราชกรณียกิจ
1) พระราชกรณียกิจด้านการส่งเสริมศิลปาชีพ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภารกิจในการส่งเสริมคุณภาพชีวิต อาชีพ และความเป็นอยู่ของบุคคล ผู้ยากไร้และประชาชนในชนบทห่างไกล พระองค์ทรงมีพระราชดำริให้ก่อตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และในปัจจุบันคือมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพและขณะเดียวกันยังอนุรักษ์และส่งเสริมงานศิลปะพื้นบ้านที่มีความงดงามหลากหลายสาขา เช่น การปั้น การทอ และการจักสาน
2) ด้านการส่งเสริมอนุรักษ์ธรรมชาติ
โครงการ “บ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” “พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ พระเจ้าอยู่หัวสร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันจะสร้างป่า” พระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่แสดงถึงพระราชปณิธานอันแรงกล้าที่จะทรงงานด้านการอนุรักษ์ป่า ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้าเพื่อสนับสนุนการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อช่วยให้พสกนิกรชาวไทยมีน้ำเพียงพอต่อการดำรงชีพและการทาการเกษตร ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น
3) ด้านหัถตศิลป์
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โปรดผ้าทอพื้นเมืองมาโดยตลอด ทรงสนพระราชหฤทัยและทรงเล็งเห็นคุณค่าความงดงามอันมีเอกลักษณ์ของผ้าทอในท้องถิ่นไทย ทรงสังเกตว่าหญิงชาวบ้านที่มารับเสด็จในโอกาสที่ตามเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิ เบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ไปทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่างๆ ล้วนแต่งกายด้วยผ้าทอพื้นเมืองที่มีสีสันสวยงาม ทุกคนนุ่งซิ่นไหมมัดหมี่ ซึ่งมีความสวยงามต่างๆกัน ทอดพระเนตรด้วยความสน พระราชหฤทัยยิ่ง จึงมีพระราชดาริว่า ควรจะส่งเสริมให้ราษฎรทอผ้าไหมมัดหมี่ไว้เป็นอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว นอกเหนือจากอาชีพเกษตรกรรม
4) ด้านการเกษตรและชลประทาน
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จะทรงเน้นในเรื่องของการค้นคว้า ทดลอง และวิจัยหาพันธุ์พืชใหม่ๆ ทั้งพืชเศรษฐกิจ พืชสมุนไพร รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืช และพันธุ์สัตว์ต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งแต่ละโครงการจะเน้นให้สามารถนาไปปฏิบัติได้จริง มีราคาถูก ใช้เทคโนโลยีง่าย ไม่สลับซับซ้อน เกษตรกรสามารถดาเนินการเองได้ นอกจากนี้ยังทรงพยายามไม่ให้เกษตรกรยึดติดกับพืชผลทางการเกษตรเพียงอย่างเดียว เพราะอาจเกิดปัญหาอันเนื่องมาจากความแปรปรวนของสภาพดินฟ้าอากาศ หรือความแปรปรวนทางการตลาด แต่เกษตรกรควรจะมีรายได้จากด้านอื่นนอกเหนือไปจากการเกษตรเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อจะได้พึ่งตนเองได้ในระดับหนึ่ง
5) ด้านการสาธารณสุข
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง นอกจากทรงช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนโดยการจัด “หน่วยแพทย์พระราชทาน” ตามเสด็จไปรักษาพยาบาลราษฎรในถิ่นทุรกันดารแล้ว ยังทรงช่วยเหลือกลุ่มผู้ประสบภัยธรรมชาติ ทรงช่วยเหลือทหาร ตำรวจ และราษฎรอาสาสมัครตามชายแดน ทรงริเริ่มจัดตั้ง “มูลนิธิสายใจไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์” ในกรณีที่ทรงพบราษฎรเจ็บป่วยก็จะทรงรับไว้เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ทรงอุปถัมภ์องค์กรการกุศล สมาคม มูลนิธิต่างๆ เป็นจำนวนมาก
6) ด้านการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทาน พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ พระราชทานชุดอุปกรณ์ปกป้องทางเดินหายใจแบบอากาศบริสุทธิ์ PAPR (Powered Air Purifying Respirator) เพื่อใช้ในห้องผ่าตัดให้กับโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและช่วยเหลือประชาชนต่อไป
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในปัจจุบัน สมเด็จพระพันปีหลวงยังทรงห่วงใยปัญหาความทุกข์ยากของราษฎรอย่างใกล้ชิดเสมอมา โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และอุปกรณ์ทางการแพทย์แก่โรงพยาบาลหลายแห่งทั่วประเทศ อาทิ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และพระราชทานชุดอุปกรณ์ปกป้องทางเดินหายใจแบบอากาศบริสุทธิ์ PAPR เพื่อใช้ในห้องผ่าตัดของโรงพยาบาลประจำจังหวัด ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 76 จังหวัด จังหวัดละ 6 ชุด มูลค่า 20,191,428 บาท เพื่อปกป้องคุ้มครองบุคลากรทางการแพทย์ให้ปลอดภัยจากการปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่ต้องได้รับการผ่าตัด การตรวจหัตถการพิเศษ และการคลอด ให้มีความปลอดภัย เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา ยังความปลื้มปีติแก่ผู้ป่วย แพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ ต่างล้วนสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น
7) ด้านการศึกษา
ทรงเป็นผู้วางรากฐานการศึกษา ทรงส่งเสริมด้านการศึกษา ด้วยทรงมีวิสัยทัศน์อันกว้างไกลมาตั้งแต่ครั้งทรงพระเยาว์ มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการศึกษาอยู่เนืองๆ ทรงตระหนักถึงความสำคัญว่า ผลของการศึกษาในวันนี้จะเป็นตัวกำหนดอนาคต พระราชทานทุนการศึกษา และส่งเสริมการพัฒนาความรู้ในด้านต่างๆ ทรงมีกระแสพระราชดำรัส ด้วยความห่วงใยในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทยของนักเรียน นิสิตนักศึกษา ว่าการศึกษาประวัติศาสตร์ของชาติ เด็กไทยควรมีความรู้ เกี่ยวกับความเป็นมาของประเทศชาติ ว่ามีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง และเปลี่ยนแปลงมาสู่ปัจจุบันได้อย่างไร
นอกจากนี้ยังทรงพระกรุณาช่วยเหลือด้านการศึกษาแก่ราษฎรที่มีบุตรมากและยากจนซึ่งทรงพบทั่วไปในพระราชอาณาจักร ทรงห่วงใยราษฎรตามชนบทที่ขาดการศึกษาเป็นอย่างมาก และทรงมุ่งหวังที่จะให้ราษฎรไทยเป็นประชากรที่มีคุณภาพ พึ่งตนเองได้ ตลอดจนไม่ถูกหลอกลวงโดยผู้ที่มุ่งหวังเอารัดเอาเปรียบผู้ที่มีการศึกษาน้อย ดังนั้นเมื่อได้มีพระราชปฏิสันถารกับราษฎรและทรงทราบว่าครอบครัวใดมีบุตรที่ยังอยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียนแต่ครอบครัวนั้นไม่สามารถส่งบุตรให้ศึกษาต่อจากภาคบังคับได้ ก็จะพระราชทานทุนการศึกษาแก่บุตรของครอบครัวนั้น ๑ คน โดยพิจารณาเด็กที่มีความสามารถพอจะศึกษาให้จบอย่างน้อยหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่งเป็นเกณฑ์ เพื่อที่จะกลับมาเป็นที่พึ่งของครอบครัวในการทำมาเลี้ยงชีพ และส่งเสียให้สมาชิกครอบครัวรายอื่นๆได้รับการศึกษาต่อไป ซึ่งพระองค์ได้พระราชทานทุนการศึกษาแก่เด็กเหล่านี้แล้วเป็นจำนวนหลายพันรายทั่วประเทศ